วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

CD-ROM

CD-ROM

ความเป็นมาของ ซีดีรอม


ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory )มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 เมื่อบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และโซนี่ (Sony)ได้ร่วมมือกันที่จะผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง (CD) ซึ่งในขณะนั้นฟิลิปป์ได้พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกวางจำหน่ายแล้ว และขณะเดียวกันโซนี่ก็ได้ทำการวิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิทัลมานานนับสิบปี ในตอนแรกต่างฝ่ายต่างจะกำหนดมาตรฐานคอมแพคดิสก์ที่จะออกวางจำหน่าย แต่ท้ายที่สุดทั้งสองบริษัทก็ได้ตกลงที่จะกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยในปี 1982 ทั้งสองบริษัทได้กำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกเสียง วิธีการอ่านซีดีและขนาดของซีดี โดยกำหนดเป็น 5 นิ้ว ซึ่งกล่าวกันว่าการที่กำหนดขนาดของแผ่นดิสก์เป็น 5 นิ้วนั้นก็เพราะว่าแผ่นดิสก์ขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ทั้งสองบริษัทยังคงร่วมมือกันตลอดทศวรรษ 1970 ได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดี กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาวีดีรอมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดีรอม ก็คือ เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM DRIVES) ซึ่งในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี ในอดีตนั้นซีดีรอมใช้เพื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการบันทึกไว้ในแผ่นฟลอปปี้ดิสก์จะต้องใช้ฟลอปปี้ดิสก์เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมในการเป็นสื่อบันทึกข้อมูล ปัจจุบันเครื่องอ่านซีดีรอมได้เปลี่ยนแปลงจุดประสงค์ในการใช้จากเดิมเพื่อใช้งานบันทึกข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ กลายมาเป็นเพื่อความบันเทิงในการดูหนังฟังเพลง เครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาถูกลงอย่างมาก มันจึงกลายเป็นอุปกรณ์และกลายเป็นสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่างๆเพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายให้กับลูกค้าของตนเนื่องจากความจุที่มากกว่าและราคาที่ถูกกว่า
กลับด้านบน

การทำงานของเครื่องซีดีรอม
เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับด้านบน

การเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดีรอม

ต้องพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอม โดยพิจารณาในด้านต่อไปนี้
ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องอ่านซีดีรอมที่ควรพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดีรอม
เครื่องมือทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกเกี่ยวกับความสามารถของเครื่องซีดีรอม ซึ่งเปรียบกับความสามารถของเครื่องอ่านซีดีรอม โดยทั่วไปแล้วข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกให้ทราบลักษณะและประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิคอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ อัตราการถ่ายทอดข้อมูล เวลาในการเข้าถึงข้อมูล บัฟเฟอร์(ถ้ามี) และชนิดของอินเตอร์เฟชที่ใช้
อัตราการถ่ายทอดข้อมูล(Data Transfer Rate)
เป็นสิ่งที่บอกถึงจำนวนข้อมูลที่เครื่องอ่านซีดีรอมอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอมและส่งข้อมูลจุดนั้นให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ใช้วัดอัตราถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นมาตรฐานคือกิโลไบต์ต่อวินาที(kb/s) อัตราการถ่ายทอดข้อมูลเป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดที่เครื่องทำงานได้ เครื่องที่มีตัวเลขอัตราการถ่ายทอดข้อมูลมากยิ่งดี
เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องซีดีรอม ก็มีการวัดที่เหมือนกับการวัดเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ คำจำกัดความอีกคำหนึ่งของเวลาในการเข้าถึงข้อมูลคือ เวลาระหว่างที่เวลาเครื่องได้รับคำสั่งในการอ่านข้อมูลและเวลาที่เครื่องเริ่มอ่านข้อมูลที่ต้องการ เวลาที่ใช้จะถูกบันทึกในหน่วยของมิลลิวินาที (ms) เวลาที่เครื่องใช้สำหรับเริ่มอ่านข้อมูลจากส่วนต่างๆของดิสก์เรียกว่า อัตราการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ย (Average Access Rate) เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ยของซีดีรอมนั้นอยู่ในช่วง 500 ถึง 200 มิลลิวินาที ซึ่งช้ากว่าของฮาร์ดดิสก์(ฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20 มิลลิวินาที)
บัฟเฟอร์(Buffer)
เครื่องซีดีรอมบางเครื่องจะมีบัฟเฟอร์อยู่ภายในเครื่อง บัฟเฟอร์เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องวีดีรอม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลให้มีจำนวนมากพอก่อนที่จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามปกติเครื่องซีดีรอมมีบัฟเฟอร์ขนาด 64 กิโลไบต์
ข้อดีของการมีบัฟเฟอร์คือ
1. ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับข้อมูลในอัตราคงที่
2. ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
อินเตอร์เฟช(Interface)
อินเตอร์เฟชสำหรับเครื่องซีดีรอมใช้สำหรับการต่อสายสัญญาณระหว่างเครื่องซีดีรอมกับคอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญสำหรับการถ่ายทอดข้อมูลจากเครื่องซีดีรอมไปยังคอมพิวเตอร์
- อินเตอร์เฟช SCSI (Small Computer System Interface)แบบมาตรฐาน หมายถึงการ์ดที่สามารถใช้กำลังมาตรฐานชุดเดียวกันกับอุปกรณ์เพิ่มเติมได้หลายชนิด การ์ดอะแด๊ปเตอร์เหล่านี้ทำให้ใช้อุปกรณ์ต่อเพิ่มได้หลายตัวโดยใช้การ์ดเพียงอันเดียว ทำให้ลดความยุ่งยากจากการเพิ่มการ์ดในกรณีที่มีอุปกรณ์ต่อเพิ่มใหม่ ด้วยข้อดีนี้ทำให้การ์ดแบบ SCSI เป็นที่นิยมในการต่ออุปกรณ์ต่อเพิ่ม เช่นการต่อเครื่องซีดีรอมกับคอมพิวเตอร์
- SCSI-2 และ ASPI SCSI แบบมาตรฐานจะมี่สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ต่อพ่วงตัวอื่นที่มีจำหน่ายทีหลังได้ จึงต้องมีการปรับปรุงการ์ด SCSI-2 ซึ่งมีสิ่งปรับปรุงเพิ่มคือ
SCSI Fast มีความเร็วเป็นพิเศษ
SCSI Wide ขยายขนาดของบัสส่งข้อมูล ทำให้การถ่ายทอดข้อมูลผ่านการ์ดได้มากขึ้น
Scatter/Gather ทำให้การอ่านและการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ส่วน ASPI(Advance SCSI Programming Interface) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาไดร์ฟเวอร์สำหรับฮาร์ดแวร์ตามมาตรฐาน SCI ทำได้ง่ายขึ้นนอกจากข้อมูลทางเทคนิคแล้วการตัดสินใจซื้อเครื่องอ่านซีดีรอมต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วยดังนี้
ปัจจัยที่ควรพิจารณานอกเหนือจากปัจจัยทางเทคนิคในการเลือกซื้อเครื่องซีดีรอม
ตัวเครื่อง
ฝุ่นจัดเป็นศรัตตรูร้ายสำหรับเครื่องซีดีรอม ผู้ผลิตบางรายป้องกันด้วยการแยกส่วนที่เป็นเลนส์ออกจากส่วนที่ใช้ใส่ซีดี บางรายอาจมีช่องกักฝุ่นสองช่องทั้งทางเข้าและทางออกอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนช่วยยืดอายุของเครื่องได้
แคดดี้เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ซีดีรอมการใช้แคดดี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
- เครื่องที่ไม่มีแคดดี้ จะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการใส่ซีดีในแคดดี้ก่อนใส่ซีดีเข้าเครื่อง แต่มีข้อควรระวังอยู่สองประการคือ ต้องแน่ใจว่าส่วนที่เป็นลิ้นชักของเครื่องที่ใช้สำหรับใส่ซีดีนั้นสะอาดไม่มีฝุ่น และถ้าหากกลไกของลิ้นชักเสียต้องส่งเครื่องซีดีรอมเข้าซ่อมทั้งเครื่อง
- เครื่องที่มีแคดดี้ ข้อเสียคือจะทำให้เสียเวลาในการนำซีดีเข้าออก ข้อดีคือทำความสะอาดได้ง่ายและเมื่อแคดดี้ชำรุดก็เปลี่ยนใหม่ได้
ระบบทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ
ปัจจุบันเครื่องซีดีรอมบางรุ่นมีการติดตั้งกลไกทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ ถ้าไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดควรพิจารณาเครื่องที่มีระบบทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ
เครื่องแบบติดตั้งภายในกับเครื่องต่อพ่วง
หากมีพื้นที่ทำงานบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นก็ควรซื้อเครื่องซีดีรอมแบบต่อพ่วงเพราะจะสามารถย้ายได้และสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง แต่หากไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ภายในที่ใช้อะแด๊ปเตอร์อยู่แล้วก็ควรใช้แบบติดตั้งในเครื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น