วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ฟลอปปีดิสก์

ฟลอปปีดิสก์





แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (อังกฤษ: floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)





ประวัติ



แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดย เดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง

นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 KB ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 KB

แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลายๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้. ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3½ นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว คือ 360 KB สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 KB สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 MB โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 MB (extended-density) โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม และ ดีวีดีรอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น